แม้จะมีเสียงวิจารณ์มากมาย โดยเฉพาะเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่รัฐบาลอินโดนีเซียยังคงเดินหน้าแผนย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปยัง "นูซันตารา" (Nusantara) และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ก็จะเริ่มย้ายข้าราชการชุดแรกเข้าสู่เมืองหลวงด้านการบริหารแห่งใหม่แล้ว
"นูซันตารา" ซึ่งในภาษาชวา แปลว่า หมู่เกาะ เป็นชื่อเมืองหลวงแห่งใหม่ของอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ใน จ.กาลีมันตัน ทางตะวันออกของเกาะบอร์เนียว ห่างจากกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงเก่าประมาณ 2,000 กิโลเมตร
ทำเลดังกลล่าวมีความเหมาะสมในด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เพราะตั้งอยู่ห่างจากแนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก จึงปลอดภัยจากแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด
รัฐบาลอินโดนีเซีย ตั้งเป้าให้นูซันตาราเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ ส่วนจาการ์ตาที่อยู่บนเกาะชวา จะยังเป็นเมืองหลวงด้านการเงินและศูนย์กลางการค้า คล้ายกับในต่างประเทศ เช่นที่ออสเตรเลีย รัฐบาลยกให้กรุงแคนเบอร์ราเป็นศูนย์กลางการบริหาร ในขณะที่นครซิดนีย์ยังคงเป็นศูนย์กลางด้านการเงิน
พิธีเปิดเมืองหลวงแห่งใหม่ของอินโดนีเซียจะมีขึ้นในวันที่ 17 ส.ค.นี้ ซึ่งจะตรงกับวันครบรอบ 79 ปี วันชาติอินโดนีเซียพอดี และหลังจากนั้น 1 เดือน จึงจะเริ่มมีการย้ายข้าราชการชุดแรกไปประจำที่นั่น
โดยในเฟสแรก จะมีข้าราชการประมาณ 11,916 คน จาก 38 กระทรวงและองค์กร ในจำนวนนี้ จะมีข้าราชการกลุ่มเล็ก ๆ 1,500 คน เดินทางล่วงหน้าไปก่อนตั้งแต่เดือน ส.ค. เพื่อเตรียมการพิธีฉลองวันชาติ รวมถึงพิธีเปิดเมืองหลวง ส่วนที่เหลือจะย้ายตามไปในเดือน ก.ย.
ตามกำหนดการเดิม อินโดนีเซียจะต้องเริ่มย้ายเจ้าหน้าที่ไปนูซันตาราตั้งแต่เดือน มี.ค.ปีนี้ แต่แผนถูกเลื่อนออกไปถึง 2 ครั้ง เป็นเดือน ก.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. และล่าสุด เลื่อนเป็นเดือน ก.ย.
โดยรัฐบาลจะรับผิดชอบทั้งค่าเครื่องบิน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางและโยกย้ายทั้งหมด นอกจากนี้ ข้าราชการทุกคนที่ไปประจำการที่นูซันตารา น่าจะได้ห้องพักในอะพาร์ตเมนต์สำหรับข้าราชการ ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนตามจำนวนและความต้องการ
โดยในระยะแรก ข้าราชการที่ยังไม่ได้แต่งงาน อาจจะต้องแชร์ห้องพักกับข้าราชการคนอื่น ๆ ที่ยังไม่มีครอบครัว ระหว่างรอให้อะพาร์ตเมนต์ที่พักข้าราชการสร้างเสร็จทั้งหมด
นอกจากนี้ รัฐบาลยังจะให้เบี้ยเลี้ยงพิเศษสำหรับข้าราชการชุดบุกเบิกของนูซันตาราด้วย ซึ่งเบี้ยเลี้ยงนี้คำนวณมาให้ครอบคลุมค่ากินอยู่ของคู่สมรส ลูกอีก 2 คน และแม่บ้านอีก 1 คน
การตัดสินใจย้ายเมืองหลวงจากจาการ์ตา ถูกประกาศขึ้นตั้งแต่สมัยของอดีตประธานาธิบดี โจโก วิโดโด หรือโจโกวี ในปี 2019 โดยให้เหตุผลว่า จาการ์ตานั้นรับภาระหนักเกินไป ประชาชนกรหนาแน่น เจอทั้งปัญหารถติด และน้ำท่วมจากปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และคาดว่าในอีกหลายสิบปีข้างหน้า เมืองหลวงแห่งนี้อาจจมอยู่ใต้น้ำ
นอกจากนี้ การย้ายเมืองหลวงไปยังเกาะบอร์เนียว ยังจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาทางภาคตะวันออกของประเทศด้วย
รัฐบาลอินโดนีเซียแบ่งการพัฒนาเมืองนูซันตาราออกเป็น 5 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นช่วงของการก่อสร้างอาคารสถานที่ขนาดใหญ่ ทั้งทำเนียบประธานาธิบดี กระทรวงต่าง ๆ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนนหนทาง และที่อยู่อาศัย ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2022 ใช้งบประมาณถึง 1 ล้านล้านบาท และคาดว่าการก่อสร้างส่วนใหญ่จะเสร็จภายในปีนี้
โดยเฉพาะทำเนียบประธานาธิบดี ทำเนียบรัฐบาล และอาคารที่ใช้เป็นกระทรวงสำคัญอีก 4 กระทรวง จะเสร็จและพร้อมใช้งานก่อนวันชาติในเดือน ส.ค.อย่างแน่นอน
แต่โครงการก่อสร้างในนูซันตารา น่าจะลากยาวไปจนถึงช่วงปี 2045 ซึ่งจะเป็นช่วงที่ถนนหนทางน่าจะเชื่อมไปถึงเมืองใกล้เคียงแล้ว
โรงพยาบาลแห่งแรกของนูซันตารา เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ ก.ย.ปีที่แล้ว จากนั้นอีก 2 เดือนต่อมา จึงเริ่มสร้างโรงเรียนนานาชาติแห่งแรกในพื้นที่
และเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา อดีตประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ที่กำลังจะลงจากตำแหน่ง ได้อนุมัติการสร้างอะพาร์ตเมนต์ สำหรับเป็นบ้านพักข้าราชการ รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เบื้องต้น ตั้งเป้าสร้างอะพาร์ตเมนต์ให้เสร็จอย่างน้อย 12 ตึก ภายใน ก.ค.นี้ ส่วนอีก 21 ตึก จะเสร็จในเดือน ต.ค. และอีก 14 ตึก เสร็จภายในเดือน พ.ย.
ส่วนระยะที่ 2 ซึ่งจะทยอยดำเนินการเร็ว ๆ นี้ คือ การย้ายเจ้าหน้าที่ไปประจำที่นูซันตารา ปีละ 20% เบื้องต้น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติและสภาที่ปรึกษาประชาชน จะย้ายไปเป็นลำดับแรก ส่วนประธานาธิบดี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงจะย้ายตามไปภายในปีนี้
ระยะที่ 3 จะเป็นช่วงของการพัฒนาเมืองหลวง สิ่งอำนวยความสะดวก และสาธารณูปโภค
ระยะที่ 4 จะเป็นการสร้างระบบคมนาคมโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมนูซันตารากับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศและต่างประเทศ โดยรัฐบาลตั้งเป้าว่านูซันตาราจะเป็นแหล่งรองรับการลงทุน และดึงดูดผู้มีทักษะและความสามารถจากต่างชาติ
อย่างไรก็ตาม ยังมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการย้ายเมืองหลวงมาอยู่ใกล้กับผืนป่าบนเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของอุรังอุตัง พวกเขาเชื่อว่า หากการบริหารจัดการไม่ดี ปัญหาเดิม ๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับจาการ์ตา ก็จะกลับมาเกิดในเมืองหลวงใหม่แห่งนี้อีก