ส่องเคล็ดลับ “แอน สิเรียม” สวยสุขภาพดีมีออร่าสไตล์ แนะเสริมวิตามินเพิ่มภูมิคุ้มกันก่อนเกิดโรค
“แพท ณปภา” เผยปมทะเลาะ “พี ชานนท์” โสด 6 ชั่วโมงก่อนคืนดี
เปิดใจชีวิตนักแสดงสาวหัวใจแกร่งยอดกตัญญูอีกคนของวงการบันเทิง “แพท-ณปภา ตันตระกูล” ที่มุมานะทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูบุตรชาย และยังต้องรับหน้าที่ดูแลคุณย่าที่นอนติดเตียง เนื่องจากป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มานานหลายปี
ล่าสุดมาเป็นแขกรับเชิญในรายการ “Rise & Shine ชีวิตดีเริ่มที่ตัวเรา” ทาง ‘พีพีทีวี ช่อง 36’ โดยเล่าถึงประสบการณ์การดูแลคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ จนตัวเองเกิดความวิตกกังวลว่าจะมีความเสี่ยงเป็นโรคดังกล่าวหรือไม่
"ตอนนี้ตัวเองทำงานหนักด้วย แล้วก็มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ ประกอบกับคุณย่าก็เป็นโรคอัลไซเมอร์ จนตอนนี้เป็นผู้ป่วยติดเตียงด้วยแล้วทำให้มีความเชื่อมโยง กังวลว่าสิ่งที่เราเป็นอยู่ หลง ๆ ลืมๆ เนี่ย จริงๆ แล้วมันเกิดจากอาการขาดวิตามินหรือเปล่า เกิดจากการทำงานหนัก หรือจะมีอาการของภาวะอัลไซเมอร์เหมือนคุณย่าแล้ว เพราะโรคนี้ก็มาจากพันธุกรรมได้ด้วย"
งานนี้พิธีกรสาวประจำรายการ “นิหน่า สุฐิตา” จึงพาไปทำความรู้จักกับโรคอัลไซเมอร์ และเคล็ดลับการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคสมองเสื่อมชนิดนี้ ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพผ่าน DNA (Life Premium DNA) เพื่อลดความเสี่ยง
นพ.โชติวุฒิ ตันศิริสิทธิกุล อายุรแพทย์ด้านโรคสมอง และระบบประสาท โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท อธิบายถึงต้นเหตุของภาวะสมองเสื่อมใน ‘โรคอัลไซเมอร์’ ว่า
“เริ่มต้นจากเมื่อสมองเริ่มสร้างโปรตีน “เบต้าอะไมลอยด์” ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์สมอง จนเกิดการสะสม และตกตะกอนในเซลล์ประสาท เมื่อคนไข้อายุมากขึ้นโปรตีนเหล่านี้จะส่งผลให้เซลล์สมองบางส่วนตายได้ ในระยะเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม มักจะพบอาการหลงลืม และถดถอยลงไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายอาจจำอะไรไม่ได้เลย ทั้งวิธีการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การลุกขึ้นยืน การรับประทานอาหาร การเดิน ทักษะด้านการสื่อสาร ในระยะยาวจะไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้เลย รวมทั้งภาวะแปรปรวนทางอารมณ์ และพฤติกรรม เช่น มีอาการหวาดระแวง อารมณ์เสียง่าย เป็นต้น หากบุคคลในครอบครัวเริ่มมีพฤติกรรมเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์อย่างทันท่วงที รวมถึงแนะนำวิทยากรใหม่ในการตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์”
ด้าน พญ.จิตแข เทพชาตรี แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย และฟื้นฟูสุขภาพ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ได้แนะนำประโยชน์ของการตรวจยีนด้วยโปรแกรม Life Premium DNA ซึ่งเป็นการตรวจเชิงป้องกันที่ช่วยให้พบความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ได้เป็นรายบุคคล เพื่อป้องกันและการดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะโรคที่มีความเสี่ยงทางกรรมพันธุ์อย่างอัลไซเมอร์ที่ทุกคนก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ โดยผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้ถึง 10% และผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ก็อาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นถึง 30% หรืออาจกล่าวได้ว่าใน 10 คน จะมี 1-3 คนที่มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมได้ โดยจะมีทั้งแบบที่แสดงอาการ หรือไม่แสดงอาการก็ได้
“เงินอุดหนุนบุตร” เช็กเงื่อนไขรับสิทธิ-ปฏิทินรับเงิน ที่นี่!
JKN ยื่นศาลล้มละลายกลาง ขอฟื้นฟูกิจการ แก้ปัญหาสภาพคล่อง
คปภคำพูดจาก สล็อต888. ลงดาบ..! เพิกถอนใบอนุญาต ตัวแทนประกันชีวิต ขายข้อมูลลูกค้าให้มิจาฉาชีพ